วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของพืช

         เป็นกระบวนการที่สิ่งมีชีวิตใช้ในการดำรงเผ่าพันธุ์ไม่ให้สูญหายไปจากโลก โดยทั่วไปแล้วสามารถแบ่งการสืบพันธุ์ของพืชได้เป็น 2 ประเภท คือ การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศและการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืช

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction) เป็นวิธีการสืบพันธุ์โดยไม่ต้องมีการสร้างและการผสมระหว่างเซลล์สืบพันธุ์ การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศมีอยู่หลายแบบ เช่น การแบ่งตัว การแตกหน่อ การงอกใหม่ การสร้างสปอร์ และการใช้ส่วนต่างๆ ของพืชมาขยายพันธุ์ ตัวอย่างของการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชมีหลายวิธีดังนี้

-การสร้างสปอร์พบ ในพืชพวกเฟิน มอส ลิเวอร์เวิร์ต ช้องนางคลี่ หวายทะนอย โดยพืชที่เจริญเติบโตเต็มที่จะสร้างอับสปอร์ที่ด้านหลังของใบ ภายในมีสปอร์เล็กๆ ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปในที่ต่างๆ ได้โดยอาศัยลมหรือน้ำเป็นตัวพาไป

-การแตกหน่อพบได้ในพืชหลายชนิด เช่น กล้วย อ้อย จอก แหน กล้วยไม้ เป็นต้น การสืบพันธุ์ด้วยวิธีนี้เซลล์ใหม่จะเจริญจากกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่าหน่อซึ่งงอกมาจากเซลล์พ่อแม่ ต่อมาจะหลุดออกจากเซลล์พ่อแม่แล้วเจริญเติบโตต่อไปได้

-การใช้ส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ราก ตา ใบ หรือลำต้น โดยใช้วิธีการตอน การติดตา การต่อกิ่ง หรือการปักชำ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้แพร่พันธุ์พืชที่ใช้เมล็ดปลูกได้ยาก หรือพืชที่เมื่อใช้เมล็ดมาเพาะเพื่อขยายพันธุ์แล้วต้องใช้ระยะเวลานานมากใน การให้ผลผลิ

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืช
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (sexual reproduction) เป็นวิธีการสืบพันธุ์ของพืชดอก โดยส่วนของพืชที่ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์คือ ดอก (flower)
8-01.JPG
................................................ส่วนประกอบของดอก.................................................

ส่วนประกอบที่สำคัญของดอกเมื่อเรียงลำดับจากชั้นนอกสุดไปยังชั้นในสุดมีดังต่อไปนี้

- กลีบเลี้ยง (sepal)เป็น ส่วนที่อยู่ชั้นนอกสุดของดอก มีสีเขียว กลีบเลี้ยงของพืชบางชนิดอาจจะมีลักษณะแยกออกจากกัน เช่น ดอกบัวสาย ดอกพุทธรักษา เป็นต้น แต่กลีบเลี้ยงของพืชบางชนิดอาจจะมีลักษณะรวมกันหรือเชื่อมติดกัน เช่น ดอกมะเขือเปราะ ดอกมะเขือเทศ ดอกพริก เป็นต้น กลีบเลี้ยงทำหน้าที่ห่อหุ้มส่วนต่างๆ ของดอกตูม เพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งต่างๆ เช่น อุณหภูมิสูงหรือต่ำ แสงจากดวงอาทิตย์ ศัตรูพืช การกระทบกระแทกจากสิ่งต่างๆ เป็นต้น

กลีบ เลี้ยงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามการเจริญเติบโตของพืช โดยช่วงแรกกลีบเลี้ยงจะห่อหุ้มส่วนต่างๆ ของดอกเอาไว้อย่างมิดชิด และจะค่อยๆ แยกออกเพื่อให้ดอกสามารถบานออกมาได้ เมื่อดอกมีการเจริญเติบโตไปเรื่อยๆ กลีบเลี้ยงก็จะเหี่ยวแห้งและหลุดร่วงไป เช่น กลีบเลี้ยงของแตงโม ฟัก แตงกวา มะม่วง ฝรั่ง แอปเปิล ส้มโอ ส้มเขียวหวาน ทุเรียน พุทรา กล้วย ลำไย เงาะ ลิ้นจี่ เป็นต้น แต่มีพืชบางชนิดที่เมื่อดอกเจริญมากขึ้นแล้วกลีบเลี้ยงจะไม่เหี่ยวแห้งและ หลุดร่วงไป เช่น กลีบเลี้ยงของมังคุด พลับ มะเขือเปาะ มะเขือพวง มะพร้าว พริกชี้ฟ้า พริกหวาน มะเขือเทศ เป็นต้น

- กลีบดอก (petal)เป็น ส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยงเข้ามาด้านใน กลีบดอกมักจะมีสีสันต่างๆ และกลีบดอกของพืชบางชนิดจะมีกลิ่นหอม ส่วนบริเวณโคนของกลีบดอกมักจะมีน้ำหวาน เพื่อใช้ล่อแมลงให้มากินน้ำหวาน ซึ่งเป็นการช่วยผสมเกสรให้แก่พืช

กลีบดอก ของพืชบางชนิดอาจมีลักษณะแยกออกจากกันเป็นกลีบๆ เช่น ดอกบัว ดอกกุหลาบ ดอกกระดังงา ดอกนมแมว ดอกมณฑา ดอกจำปา ดอกจำปี ดอกลำดวน ดอกแก้ว เป็นต้น แต่ในพืชบางชนิดกลีบดอกจะรวมกัน ไม่แยกเป็นกลีบๆ เช่น ดอกมะลิ ดอกฟักทอง ดอกมะเขือ ดอกผักบุ้ง ดอกบานบุรี เป็นต้น

- เกสรเพศผู้ (stamen)เป็น ส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้ามาด้านใน เกสรเพศผู้ทำหน้าที่ในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ ซึ่งเรียกว่า ละอองเรณู (pollen grain) เกสรเพศผู้มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ ก้านชูอับเรณู (filament) และอับเรณู (anther)
08-2.JPG
.......................................เกสรเพศผู้..........................................

- เกสรเพศเมีย (pistil)เป็นส่วนประกอบของดอกที่อยู่ด้านในสุด เกสรเพศเมียทำหน้าที่ในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย ซึ่งเรียกว่า " เซลล์ไข่ (egg)" เกสรเพศเมียมีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ ยอดเกสรเพศเมีย (stigma) ก้านเกสรเพศเมีย (style) และรังไข่ (ovary)
08-3.JPG
....................................เกสรเพศเมีย.............................................

ขั้นตอนในการสืบพันธุ์ของพืชดอกมีดังนี้

1. การถ่ายละอองเรณู (pollination)คือ การที่ละอองเรณูไปตกลงบนยอดเกสรเพศเมีย ซึ่งการถ่ายละอองเรณูจะเกิดขึ้นเมื่อดอกของพืชชนิดนั้นๆ เจริญเติบโตเต็มที่ และส่วนของอับเรณูก็จะแตกออก ทำให้ละอองเรณูที่อยู่ภายในเคลื่อนที่ออกสู่ภายนอกตามแรงต่างๆ เช่น แรงดึงดูดของโลก แรงในการสั่นสะเทือนของต้นไม้ แรงลม แรงดันน้ำ เป็นต้น และละอองเรณูก็จะไปตกลงบนยอดเกสรเพศเมีย

ประเภทของการถ่ายละอองเรณูมีดังนี้

-การถ่ายละอองเรณูของดอกที่มีความเหมือนกันทางพันธุกรรม (self pollination) คือ มียีน (gene) ที่เหมือนกัน ดังนี้

- การถ่ายละอองเรณูภายในดอกเดียวกัน

- การถ่ายละอองเรณูคนละดอกกัน แต่อยู่ในต้นเดียวกัน

- การถ่ายละอองเรณูข้ามต้น

- การถ่ายละอองเรณูของดอกที่มีความแตกต่างกันทางพันธุกรรม (cross pollination) คือ มียีน (gene) ต่างกัน เป็นการถ่ายละอองเรณูจากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นพืชพันธุ์เดียวกัน พืชสปีชีส์เดียวกันหรือแตกต่างกันก็ได้
08-4.JPG
..........การถ่ายละอองเรณูข้ามต้น............

2. การปฏิสนธิ (fertilization)เป็น ขั้นตอนที่เกิดขึ้นต่อจากการถ่ายละอองเรณู ซึ่งเมื่อละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรเพศเมีย ละอองเรณูจะเริ่มรับน้ำจากยอดเกสรเพศเมียด้วยวิธีการแพร่ (diffusion) จนมีปริมาณน้ำมากพอ (ละอองเรณูจะมีลักษณะพองขึ้น) ก็จะมีการแบ่งเซลล์เพิ่มขึ้นจนเกิดเป็นท่อหรือหลอด (pollen tube) งอกลงไปในก้านเกสรเพศเมียจนกระทั่งถึงรังไข่

นิวเคลียส 2 ตัว ซึ่งจะเจาะเข้าสู่ภายในถุงเอ็มบริโอ (embryo sac) สเปิร์มนิวเคลียสตัวที่ 1 จะผสมกับเซลล์ไข่ได้ไซโกตซึ่งจะเจริญไปเป็นต้นอ่อน สเปิร์มนิวเคลียสตัวที่ 2 จะผสมกับโพลาร์นิวเคลียสได้เอนโดสเปิร์มซึ่งเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงต้นอ่อน เรียกวิธีการนี้ว่า การปฏิสนธิ (fertilization) และเป็นการปฏิสนธิ 2 ครั้ง ซึ่งเรียกว่า การปฏิสนธิซ้อน (double fertilization)

หลังการปฏิสนธิส่วนต่างๆ ของดอกจะมีการเปลี่ยนแปลงไปดังนี้

- ออวุล (ovule) เจริญไปเป็นเมล็ด

- รังไข่ (ovary) เจริญไปเป็นผล (fruit)

- ไข่ (egg) เจริญไปเป็นต้นอ่อน (embryo) อยู่ภายในเมล็ด

- ผนังรังไข่ (ovary wall) เจริญไปเป็นเปลือกและผนังผล (pericarp)

08-5.JPG

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น